พระเจ้าพระบิดา
คริสตจักรของพระเจ้าเชื่อตรีเอกนุภาพอย่างมั่นใจ และเข้าใจว่าการรู้จักชื่อของพระเจ้านั้นสำคัญมากสำหรับการได้รับความรอด ตรีเอกนุภาพหมายถึง พระเจ้าทรงปรากฏด้วยพระนามที่แตกต่างกันตามสมัยของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่สภาพที่แท้จริงของพระเจ้านั้นเป็นพระองค์เดียวกัน คริสตจักรของพระเจ้าเชื่อว่า พระเจ้าพระเยโฮวาห์ในสมัยพระบิดาทรงเสด็จมาเป็นพระเยซูในฐานะที่เป็นบุตรในสมัยพระบุตร และเชื่อว่าพระเยซูครั้งที่ 2 (พระวิญญาณบริสุทธิ์)ที่เสด็จมาในสมัยนี้ตามคำพยากรณ์คือ พระอันซังโฮง
พระคัมภีร์พยากรณ์ไว้ว่า พระคริสต์ที่จะเสด็จมาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของสมัยพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้นจะนั่งบนพระที่นั่งของกษัตริย์ดาวิด กษัตริย์ดาวิดได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนมายุ 30 พรรษาแล้วปกครองอยู่ 40 ปี อย่างไรก็ดี พระเยซูทรงรับบัพติศมาเมื่อพระชนมายุ 30 พรรษา แต่ประกาศข่าวประเสริฐในระหว่าง 3 ปีแล้วสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพราะฉะนั้น พระเยซูที่จะเสด็จมาเป็นครั้งที่ 2 ก็จะต้องรับบัพติศมาเมื่อพระชนมายุ 30 พรรษา และประกาศข่าวประเสริฐในระหว่าง 37 ปีที่เหลือแล้วสิ้นพระชนม์ ผู้ที่สำเร็จคำพยากรณ์นี้คือ พระอันซังโฮง พระอันซังโฮงทรงประสูติที่ประเทศสุดปลายแผ่นดิน ประเทศเกาหลีใต้ และเริ่มภารกิจแห่งข่าวประเสริฐตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1948 และทรงสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1985 ตามคำพยากรณ์ของพระคัมภีร์
หลักฐานสำคัญที่สุดซึ่งทำให้คริสตจักรของพระเจ้าเชื่อว่าพระอันซังโฮงเป็นพระเยซูครั้งที่ 2 คือ พระองค์ทรงเป็นผู้ประทานชีวิตนิรันดร์ให้แก่มนุษยชาติที่ต้องไปสู่ความตาย ในวันก่อนที่พระเยซูคริสต์ต้องถูกตรึงบนไม้กางเขน พระเยซูทรงประทานขนมปังกับเหล้าองุ่นที่เป็นสัญลักษณ์แทนพระกายกับพระโลหิตของพระองค์ และสัญญาชีวิตนิรันดร์และการไถ่บาปให้กับสาวกโดยผ่านเทศกาลปัสกา พระเยซูทรงเรียกวันนั้นว่า พันธสัญญาใหม่ เทศกาลปัสกาแห่งคำสัญญาใหม่จึงถูกปฏิบัติตามมาจนถึงสมัยอัครทูต อย่างไรก็ดี เมื่อคริสตจักรเสื่อมถอยไปเทศกาลปัสกาก็สูญหายไป และไม่มีใครเอาเทศกาลปัสกากลับคืนมาได้เลยในช่วงเวลายุคมืดและสมัยปฏิรูปศาสนาในระหว่าง 1,600 ปี เพราะฉะนั้น พระอันซังโฮง ผู้ที่รื้อฟื้นพันธสัญญาใหม่และนำมนุษชาติไปสู่หนทางแห่งชีวิตนิรันดร์และความรอดนั้น ทรงเป็นพระคริสตร์ครั้งที่ 2 และทรงเป็นพระเจ้า พระบิดาอย่างแน่นอน
พระเจ้า พระมารดา
ความเชื่อในพระเจ้าพระมารดาเป็นลักษณะพิเศษของคริสตจักรของพระเจ้า คนมากมายเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียง “พระเจ้าพระบิดา” แต่คริสตจักรของพระเจ้าเชื่อในพระเจ้าพระมารดาด้วย พระคัมภีร์เป็นพยานถึง พระบิดาและพระมารดาฝ่ายจิตวิญญาณโดยกล่าวว่า “พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์” (มธ. 6:9) และ “แต่ว่าเยรูซาเล็มซึ่งอยู่เบื้องบนนั้น เป็นไทเป็นมารดาของเราทั้งหลาย”(กท. 4:26)
คริสตจักรของพระเจ้าให้ความสนใจกับสองพระฉายาของพระเจ้าที่สำแดงอยู่ในทั่วพระคัมภีร์ตั้งแต่ปฐมกาลจนถึงวิวรณ์ ในปฐมกาล บทที่ 1 เมื่อพระผู้ทรงสร้างทรงสร้างมนุษย์ตรัสว่า “ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเรา” และ “พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระองค์ ให้เป็นชายและหญิง” สรุปได้ว่า เช่นเดียวกับพระเจ้าที่เป็นพระฉายาของเพศชาย(พระบิดา)ดำรงอยู่ พระเจ้าที่เป็นพระฉายาของเพศหญิง(พระมารดา)ก็ดำรงอยู่ด้วย
นอกจากนี้แล้ว ตั้งแต่ข้อแรกของพระคัมภีร์ “ในปฐมกาล พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดิน” คำว่า “พระเจ้า” ถูกบันทึกในพระคัมภีร์ภาษาฮีบรูว่า “เอลโลฮิม” ซึ่งเป็นคำพหูพจน์กว่า 2,500 ครั้ง นั่นหมายความว่าพระผู้ทรงสร้างเป็น “พวกพระเจ้า” ไม่ใช่มีพระองค์เดียว คริสตจักรของพระเจ้าเข้าใจว่าพระคัมภีร์บันทึกเช่นนี้ก็เพราะมีพระเจ้าพระบิดา และพระเจ้าพระมารดา ในหน้าสุดท้ายของพระคัมภีร์มีพระวิญญาณบริสุทธิ์และเจ้าสาวที่ทรงปรากฏและตรัสว่า “เชิญมาเถิด … มารับน้ำแห่งชีวิต” ผู้ที่มีอำนาจในการประทานน้ำแห่งชีวิตนั้นมีเพียงพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้นพระวิญญาณบริสุทธิ์ในที่นี้ทรงเป็นพระเจ้าพระบิดา และเจ้าสาวทรงเป็นพระเจ้าพระมารดาอย่างแน่นอน
ครอบครัวบนอาณาจักรสวรรค์และครอบครัวบนแผ่นดินโลก
คำว่า “บิดามารดา” เป็นคำเรียกที่ใช้ในครอบครัว ระบบครอบครัวบนโลกที่ประกอบไปด้วยคุณพ่อ คุณแม่ และลูกนั้นเป็นเงาที่แสดงให้เราทราบว่า ในอาณาจักรสวรรค์ก็มีพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระมารดา และบรรดาบุตรของพระเจ้า การมีระบบครอบครัวแห่งความรักบนแผ่นดินโลกนั้น หมายถึงในอาณาจักรสวรรค์ก็มีระบบครอบครัวแห่งความรักนิรันดร์ เหมือนกับสมาชิกในครอบครัวบนแผ่นดินโลกมีความสัมพันธ์กันโดยผ่านสายเลือด สมาชิกในครอบครัวบนอาณาจักรสวรรค์ก็มีความสัมพันธ์กันโดยผ่าน “สายโลหิตแห่งพันธสัญญา”
การเชื่อว่าพระเจ้าเป็นพระบิดาและพระมารดาของเรานั้น นำผลลัพธ์มายังชีวิตของธรรมิกชนในคริสตจักรของพระเจ้า ธรรมิกชนในคริสตจักรของพระเจ้ามีความภูมิใจที่เป็นบุตรของพระเจ้า และเป็นสมาชิกในครอบครัวบนอาณาจักรสวรรค์ เนื่องมาจากว่า ครอบครัวบนแผ่นดินโลกเป็นเงาของครอบครัวบนอาณาจักสวรรค์ พวกเขาจึงรักษาครอบครัวอย่างดี และพยายามใส่ใจกับความสุขของครอบครัว ลูกนับถือบิดามารดาของตน บิดามารดารักลูก พี่น้องสามัคคีกัน และสามีภรรยารักซึ่งกันและกันเหมือนรักตนเอง นี่คือความพยายามของธรรมิกชนเพื่อทำให้ครอบครัวกลายเป็นสวรรค์ขนาดเล็ก ยิ่งกว่านั้นอีก ธรรมิกชนในคริสตจักรของพระเจ้าพยายามและเอาใจใส่กับความสุขของคนอื่น และเข้าร่วมงานอาสาสมัครด้วย เพราะหวังว่ามนุษชาติทุกคนเข้ามาสู่พระเจ้าพระบิดา และพระเจ้าพระมารดา และได้กลายเป็นครอบครัวเดียวกันที่จะได้รับความสุขที่ชั่วนิรันดร์
พระเจ้าทรงเสด็จมาในสภาพเนื้อหนัง
ความเป็นจริงแล้ว ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่เชื่อในพระเจ้าที่ทรงประทานความรอดด้วยสภาพของมนุษย์ คริสตจักรของพระเจ้าเชื่อว่า พระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระมารดาทรงดำรงอยู่เป็นสภาพของจิตวิญญาณและจะทรงเสด็จมาสู่โลกนี้ด้วยสภาพของมนุษย์เพื่อช่วยให้รอด กล่าวคือ พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพและทำได้ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเสด็จมาเป็นมนุษย์ได้ และพวกเราต้องเชื่อในพระเจ้าที่เสด็จมาเป็นมนุษย์ตามคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์
2,000 ปีก่อน พระเยซูคริสต์ผู้ทรงประสูติเป็นเด็กนั้น ถูกกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ว่า “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า … พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์” (ยน. 1:1-14) หลักคำสั่งสอนของศาสนาคริสต์ที่ว่า พระเจ้าทรงเสด็จมาเป็นมนุษย์นั้น ทำให้ศาสนายูดาห์เกิดความเกลียดชัง ชาวยิวจึงพยายามที่จะสังหารพระเยซูคริสต์ โดยอ้างว่า “เป็นเพียงมนุษย์แต่ตั้งตัวเป็นพระเจ้า” และในที่สุดพวกเขาตรึงพระเยซูที่ไม่มีบาปที่ไม้กางเขน
หลังจากการฟื้นคืนชีพของพระคริสต์ พวกสาวกเป็นพยานถึง “พระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพเป็นมนุษย์” (1 ทธ. 2:5) อย่างมั่นใจและเน้นย้ำความเชื่อในพระเจ้าที่เสด็จมาเป็นมนุษย์ ปัจจุบันนี้ พระเยซูคริสต์จึงได้ถูกยอมรับว่าเป็นพระผู้ช่วยให้รอดและได้รับการยกย่องจากมนุษยชาติ แต่พระคัมภีร์ยังมีคำพยากรณ์อีกว่า “พระองค์จะทรงปรากฏเป็นครั้งที่สอง มิใช่เพื่อกำจัดบาป แต่เพื่อช่วยบรรดาผู้ที่รอคอยพระองค์ด้วยใจจดจ่อให้ได้รับความรอด” (ฮบ. 9:28) พระเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่เป็นสภาพของจิตวิญญาณจะปรากฏเป็น “ครั้งที่สอง” หมายถึง พระเจ้าจะทรงปรากฏด้วยสภาพของมนุษย์เช่นเดียวกับครั้งแรก พระวจนะที่ว่า “เชิญมาเถิด … มารับน้ำแห่งชีวิต” ซึ่งเหมือนกับที่พระวาทะบังเกิดมาเป็นมนุษย์เมื่อ 2,000 ปีก่อน สมัยนี้พระวาทะก็จะเสด็จมาเป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็นพระเจ้าพระบิดา และพระเจ้าพระมารดา
เทศกาลปัสกา
คริสตจักรของพระเจ้าเป็นคริสตจักรเดียวที่ถือรักษาเทศกาลปัสกาตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์ใน 2,000 ปีก่อนและสาวกของพระองค์ เมื่อ 3,500 ปีก่อน ชนชาติอิสราเอลที่เป็นทาสของประเทศอิยีปต์ได้พ้นจากภัยพิบัติอันน่ากลัว และถูกปลดปล่อยจากการเป็นทาสโดยปฏิบัติตามเทศกาลปัสกาด้วยการนำเลือดของลูกแกะทาที่ไม้วงกบประตูทั้งสองข้างและไม้ข้างบน ปัสกามีความหมายว่า “ผ่านเว้นภัยพิบัติ”
2,000 ปีก่อน พระองค์ทรงสัญญาการอภัยโทษบาปและชีวิตนิรันดร์โดยขนมปังและเหล้าองุ่นในเทศกาลปัสกาซึ่งเป็นพระกายและพระโลหิตของพระองค์ เพื่อให้ความรอดแก่มนุษยชาติที่ติดอยู่กับโซ่แห่งความบาปและความตาย พระเจ้าทรงเรียกคำสัญญานี้ว่า “คำสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา” กล่าวคือ 1 วันก่อนที่พระเยซูจะทรงเสียสละบนไม้กางเขน ชีวิตและความรอดถูกมอบให้กับมนุษชาติด้วยพินัยกรรมของพระเยซูที่ชื่อว่า พันธสัญญาใหม่ เมื่อเราปฏิบัติตามเทศกาลปัสกาตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์ จะสามารถกลายเป็นบุตรของพระเจ้าได้โดยผ่านพระกายและพระโลหิตที่ทรงบรรจุไว้เป็นพระสัญญา ในที่สุดทุกคนกลายเป็นพี่น้องที่เป็นสมาชิกของครอบครัวบนอาณาจักสวรรค์ที่แท้จริง และรักซึ่งกันและกัน
วันสะบาโต
สมัยปัจจุบันนี้ คริสตจักรส่วนใหญ่นมัสการในวันอาทิตย์ แต่พระคัมภีร์กำหนดวันที่เจ็ด วันสะบาโตให้เป็นวันบริสุทธิ์ที่เราต้องนมัสการแด่พระเจ้า วันสะบาโตเป็นวันที่พระผู้ทรงสร้างเสร็จสิ้นการเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดินใน 6 วันแล้วทรงพักผ่อน พระเจ้าทรงถือวันสะบาโตเป็นวันบริสุทธิ์และบัญชาให้ประชาชนปฏิบัติ หากเราพิจารณาประวัติศาสตร์และปฏิทิน สามารถเข้าใจได้ว่าวันนั้นตรงกับวันเสาร์ในปัจจุบัน
พระเยซูคริสต์ทรงตรัสว่า พระองค์ทรงเป็นเจ้าของวันสะบาโต และทรงเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติวันสะบาโต พระองค์ทรงปฏิบัติตามวันสะบาโตของสมัยพันธสัญญาใหม่ผ่านการนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง ซึ่งแตกต่างกันกับสะบาโตของสมัยพันธสัญญาเดิมที่ใช้ลูกแกะเป็นเครื่องบูชา วันสะบาโตถูกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องโดยผ่านพระเยซูคริสต์ สาวก และเปาโล อย่างไรก็ดี วันสะบาโตที่ยังคงอยู่จนถึงเมื่อเปาโลประกาศข่าวประเสริฐนั้น เริ่มหวั่นไหวในช่วงสิ้นสุดของสมัยอัครทูต เพราะคริสตจักรเสื่อมไปและคริสตจักรตะวันตกที่มีศูนย์กลางที่โรมยืนยันการนมัสการวันอาทิตย์
จักรพรรดิ คอนสแตนตินได้ยอมรับคริสตศาสนาอย่างเป็นทางการโดยผ่านพระราชกฤษฏีกาแห่งมิลานในปี ค.ศ.313 และ ในปี ค.ศ.321 ทำให้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดและเป็นวันนมัสการ หลังจากนั้นคริสตจักรโรม(คาทอลิก) ทำให้หลักคำสอนเกี่ยวกับการนมัสการวันอาทิตย์มั่นคง ตั้งแต่นี้ไปการนมัสการวันอาทิตย์ได้กลายเป็นประเพณีของคริสตจักร และไม่ว่าจะเป็นนิกายใดก็ตามต่างเข้าร่วมนมัสการในวันอาทิตย์ อย่างไรก็ดี คริสตจักรของพระเจ้าที่รักษาความจริงและความเชื่อตามพระคัมภีร์และแบบอย่างของคริสตจักรยุคแรกนั้นนมัสการในวันเสาร์ วันสะบาโตอยู่
7 เทศกาลใน 3 กลุ่มวาระ
เทศกาลหลักของคริสตจักรของพระเจ้ามีวันสะบาโตเป็นเทศกาลประจำสัปดาห์ และมี 7 เทศกาลใน 3 กลุ่มวาระ ได้แก่ เทศกาลปัสกา, เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ, เทศกาลเลี้ยงฉลองผลต้น, เทศกาลเจ็ดสัปดาห์, เทศกาลเสียงแตร, เทศกาลวันแห่งการลบมลทินครั้งใหญ่, เทศกาลอยู่เพิง 7 เทศกาลใน 3 กลุ่มวาระก็เป็นเทศกาลของพระเจ้าที่มีหลักฐานในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ เช่นเดียวกับวันสะบาโต คริสตจักรของพระเจ้าไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของมนุษย์ เช่น วันคริสต์มาสที่มีต้นกำเนิดมาจากเทศกาลของโรมโบราณ และวันขอบคุณพระเจ้าที่มาจากประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งอเมริกา
ไม้กางเขนเป็นรูปเคารพ
เมื่อได้ยินคำว่า “คริสตจักร” ทุกคนก็นึกถึงไม้กางเขนทันที แต่คริสตจักรของพระเจ้าจะไม่มีไม้กางเขน คริสตจักรยุคแรกที่พระเยซูทรงสถาปนาและพวกสาวกนมัสการนั้นก็ไม่เคยติดตั้งไม้กางเขนและไม่เคยมีหลักคำสอนที่ถือไม้กางเขนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่เราต้องเคารพนับถือ เพราะการใส่ความหมายที่ไม้กางเขนนั้นผิดต่อพระบัญญัติสิบประการข้อที่ 2 “อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเคารพ”
เมื่อเราพิจารณาประวัติศาสตร์ของคริสตจักรหรือสารานุกรมเราสามารถเข้าใจได้ว่า ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ของพวกนอกศาสนาต่างๆ ในสมัยโบราณ ไม้กางเขนถูกใช้เป็นยันต์สำหรับผี และเป็นเครื่องประหารชีวิตในสมัยพระเยซูคริสต์ แต่ช่วงเวลาที่คริสตจักรเสื่อมถอยไป ไม้กางเขนถูกนำเข้ามาในคริสตจักรในปี ค.ศ.431 เป็นครั้งแรก และถูกติดตั้งบนคริสตจักรในปี ค.ศ.568 หลังจากนั้นคนมากมายนำไม้กางเขนมาใช้เป็นเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ แหวน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ คริสตจักรของพระเจ้าจึงปฏิเสธไม้กางเขนเพราะมันเป็นเพียงรูปเคารพ แต่ให้ความสำคัญกับพระโลหิตของพระคริสต์บนไม้กางเขน แทนที่จะนับถือไม้กางเขน
พิธีบัพติศมา
พิธีบัพติศมามีความหมายว่า ชำระกายแห่งความบาปด้วยน้ำ และได้บังเกิดใหม่เป็นคนแห่งสวรรค์
ตามพระคัมภีร์แล้ว พิธีบัพติศมาเป็นเครื่องหมายแห่งพระสัญญาระหว่างพระเจ้า และเครื่องหมายแห่งความรอด คริสตจักรของพระเจ้าถือว่า การรับบัพติศมาเป็นก้าวแรกของความเชื่อ และผู้ที่รับบัพติศมาได้กลายเป็นประชาชนของพระเจ้าที่แท้จริง ตามคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์ที่ว่า “จงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้เป็นสาวกของเรา ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์” พิธีบัพติศมาที่แท้จริงนั้นต้องมีพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ และผู้ที่รับก็ต้องรับด้วยความเชื่อในพระเจ้าพระบิดา และพระเจ้าพระมารดา
กฎเกณฑ์ของผ้าคลุมศีรษะ
ในคริสตจักรของพระเจ้า เมื่ออธิษฐานหรือนมัสการ ผู้ชายไม่คลุมศีรษะ แต่ผู้หญิงใช้ผ้าคลุมศีรษะตามกฎเกณฑ์ของคริสตจักรของพระเจ้าที่อยู่ในพระคัมภีร์
เมื่อพิจารณา 1 โครินธ์ บทที่ 11 เราสามารถเข้าใจได้ว่า กฎเกณฑ์ของผ้าคลุมศีรษะเป็นคำสั่งสอนของพระคริสต์ ซึ่งมีพระทัยของพระเจ้าในการสร้างสรรพสิ่ง และกฎเกณฑ์นี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อระบบระเบียบของคริสตจักร อัครทูตเปาโลเคยอธิบายกฎเกณฑ์ของผ้าคลุมศีรษะโดยอ้างถึงสัญชาตญาณที่ว่า ผมสั้นเหมาะสมกับผู้ชาย และผมยาวทำให้ผู้หญิงดูสวยงาม ปัจจุบันนี้ ในนิกายโปรเตสแตนต์ผู้หญิงก็ไม่คลุมศีรษะเหมือนผู้ชาย และสำหรับนิกายคาทอลิกแล้ว ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ผู้ชายใส่หมวกหรือมงกุฎเมื่อมีการนมัสการอยู่ อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้เป็นหลักคำสอนที่ห่างไกลจากพระคัมภีร์ คริสตจักรที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของผ้าคลุมศีรษะตามพระคัมภีร์ก็มีเพียงคริสตจักรของพระเจ้าเท่านั้น